ไขข้อข้องใจ แยกขยะยังไงให้ได้ประโยชน์ที่สุด?

เม็ดพลาสติก และ วัสดุรักษ์โลกจากเปลือกหอย : ทางเลือกใหม่สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก
มีนาคม 15, 2020
6 เหตุผล ที่ทำให้ธุรกิจ Food Delivery ในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
6 เหตุผล ที่ทำให้ธุรกิจ Food Delivery ในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
เมษายน 18, 2020
 
ขยะ” ถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย ปัญหาขยะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปยังชุมชนรอบๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคอย่างหนู แมลงสาบ และขยะพลาสติกก็ยังเป็นขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล กลายเป็นอาหารที่ทำให้สัตว์ทะเลตายมานักต่อนัก เนื่องจากขยะประเภทพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนานมาก

ปัญหาขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก สามารถแก้ไขได้หากมีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง เลือกใช้พลาสติกเท่าที่จำเป็น และมีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้งทุกครั้ง ถือเป็นการช่วยลดปริมาณขยะตกค้างในพื้นที่ลงได้ถึง ร้อยละ 95 และช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะได้อีกด้วย ว่าแต่เราจะมีวิธีการแยกขยะยังไงบ้าง วันนี้น้องฟาฟาจะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีแยกขยะที่สามารถทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน ถ้าพร้อมแล้วก็จัดเตรียมถังขยะแล้วตามน้องฟาฟาไปกันเลยครับ

ประโยชน์ของการแยกขยะ

 
 
 
 

แยกขยะ = ช่วยลดปริมาณขยะ

การแยกขยะจะทำให้เราแยกขยะจำพวก แก้ว พลาสติก กระดาษ โลหะ ออกจากขยะทั้งหมด ทำให้เราเหลือสิ่งที่เป็นขยะจริงๆ หรือสิ่งที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆน้อยลง

แยกขยะ ช่วยยประหยัดงบประมาณในการกำจัดขยะ

อย่างที่บอกไปในข้อแรกแล้วว่า การแยกขยะ = การลดขยะ ทำให้เหลือขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆน้อยลง ส่งผลให้ใช้งบประมาณในการกำจัดขยะน้อยลงนั่นเอง

แยกขยะ = เพิ่มรายได้

การแยกขยะ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ช่วยให้เราสามารถนำขยะเหล่านั้นไปขายให้กับผู้รับซื้อเพื่อใช้ประโยชน์ในการรีไซเคิลต่อไป นอกจากจะได้เงินแล้วยังได้ช่วยสิ่งแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน

แยกขยะ = ช่วยชีวิต

การแยกขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติก ช่วยให้ปริมาณขยะลดลง ลดโอกาสที่ขยะพลาสติกจะปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล หรือหาสมุทร ช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ทะเลเผลอกินขยะจนเสียชีวิต

ที่บ้านควรมีถังขยะกี่ใบและควรแยกขยะเป็นกี่ประเภท?

 
 
 
 

ถังขยะใบที่ 1 สำหรับแยกขยะเปียก/ย่อยสลายง่าย

ขยะเปียก หรือ ขยะย่อยสลายง่าย เป็นขยะที่สามารถย่อยสลายหรือเน่าเสียได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วเช่น เศษอาหารต่างๆ เศษ ผัก, ผลไม้, ใบไม้ ฯลฯ ขยะเหล่านี้ควรแยกจากขยะประเภทอื่นๆเพื่อไปใช้ทำปุ๋หมัก หรือ ปุ๋ยอิทรีย์ หากเราทิ้งขยะเหล่านี้รวมไปกับขยะประเภทอื่นจะยากต่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้
 
 
 
 

ถังขยะใบที่ 2 สำหรับแยกขยะขยะทั่วไป

ขยะทั่วไปเป็นขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด เช่น โฟม ฟอยล์ ถุงพลาสติก ซองอาหาร กระป๋องสี และแผ่นซีดี ขยะกลุ่มนี้จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะต่อไป
 
 
 
 

ถังขยะใบที่ 3 สำหรับแยกขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล ได้แก่ ของเสีย หรือวัสดุเหลือใช้ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ซึ่งขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้มีดังนี้

ขยะรีไซเคิลประเภทพลาสติก

ขยะพลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้มีดังนี้
โพลีโพรพิลิน (Polypropylene;PP) เช่น ถ้วยนมเปรี้ยว กระป๋องมันฝรั่งทอด และถังเนยเทียม
โพลีสไตรีน (Polystyrene;PS เช่น โฟม ถาดสลัด กล่องบรรจุวิดีโอและซีดี
โพลีเอทิลีน (Polyethylene;PE) เช่น ขวดเครื่องดื่มหรือขวดน้ำอัดลม
โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride;PVC) เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร สายไฟ และท่อน้ำ
โพลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene;HDPE) เช่น เหยือกน้ำผลไม้ เหยือกนม ของเล่น ขวดน้ำยาซักผ้า
โพลิเอทิลินที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene;LDPE) เช่น พลาสติกใสสำหรับห่ออาหาร และถุงหิ้ว

ขั้นตอนการแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิล
กรณีที่เป็นขวด ให้ล้สงสิ่งปนเปื้อนออกให้หมด ดึงฉลากและสิ่งต่างๆ ที่ติดกับพลาสติกออกให้หมด
ทำให้แบนเพื่อประหยัดเนื้อที่
คัดแยกพลาสติกออกตามปรเภท โดยสังเกตประเภทของพลาสติกจากเครื่องหมายที่บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีเครื่องหมายรีไซเคิลพร้อมทั้งตัวเลขระบุประเภทของพลาสติกระบุเอาไว้ชัดเจน

ขยะรีไซเคิลประเภทกระดาษ


กระดาษที่สามารถนำไปรีไซเคิลจะต้องไม่เป็นกระดาษที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันต่างๆ และต้องแยกประเภทกระดาษดังนี้ กระดาษแข็งกล่องน้ำตาล
กระดาษย่อยและหนังสือเล่มทั่วไป
กระดาษขาวสำนักงาน
กระดาษหนังสือพิมพ์
สมุดโทรศัพท์
กระดาษสมุดนักเรียน
กล่องยูเอชที

ขยะรีไซเคิลประเภทแก้ว


แก้วที่ยังคงสภาพดี
ขวดแก้วที่ยังคงสภาพดีจะถูกนำมาคัดแยกตามสีและประเภทที่บรรจุสินค้า และส่งแลับเข้าโรงงานเพื่อนำไปล้างและฆ่าเชื้อโรคเพื่อนำกลับมาบรรจุสินค้าใหม่ซ้ำอีกอย่างน้อยถึง 30 ครั้ง เช่น ขวดแม่โขง ขวดเบียร์ ขวดน้ำปลา ขวดซอส ขวดน้ำอัดลมแบบวันเวย์ ฯลฯ
แก้วแตก
เศษแก้วที่แตกปล้วจะถูกนำมาคัดแยกสี และถูกส่งเข้าโรงงานหลอมแก้ว เพื่อทุบให้แตกละเอียด ล้างทำความสะอาดด้วยสารเคมีและหลอมละลาย เพื่อเป่าเป็นขวดใหม่

ขยะรีไซเคิลประเภทโลหะ


โลหะประเภทเหล็ก
เหล็กสามารถนำมารีไซเคิลได้ทุกชนิด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เหล็กหล่อ เหล็กหนา และเหล็กบาง ราคราซื้อขายจะต่างกันตามประเภทของเหล็ก ซึ่งพ่อค้ารับซื้อของเก่าจะทำการตัดเหล็กตามขนาดต่างๆ ตามที่ท่างโรงงานกำหนดเพื่อสะดวกในการเข้าเตาหลอมและการขนส่ง

โลหะประเภทอะลูมิเนียม
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) อะลูมินียมหนา เช่น อะไหร่เครื่องยนต์ ลูกสูบ อะลูมิเนียมาอัลลอย ฯลฯ
(2) อะลูมิเนียมบาง เช่น หม้อ กะละมังซักผ้า ขันน้ำ กระป๋องเครื่องดื่ม ฯลฯ
ราคาซื้อขายโลหะอะลูมิเนียมมีราคาตั้งแต่ 10 บาท จนถึง 45 บาท โดยอะลูมิเนียมหนาจะมีราคาแพงกว่าอะลูมิเนียมบาง

โลหะประเภททองเหลือง ทองแดง และสแตนเลส
โลหะประเภทนี้มีราคาสูงตั้งแต่ 30 บาท ไปจนถึง 60 บาท โดยทองเหลืองสามารถนำกลับมาหลอมใหม่ โดยทำเป็นพระ ระฆัง หรือ อุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ ส่วนทองแดงก็นำกลับมาหลอมทำสายไฟได้ใหม่
 
 
 
 

ถังขยะใบที่ 4 สำหรับแยกขยะอันตราย

ขยะอันตรายเป็นขยะที่มีวัตถุอันตรายปนเปื้อนหรือประกอบอยู่ เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ และภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายต่างๆ การแยกขยะอันตรายสามารถสังเกตุได้จากสัญลักษณ์ที่ระบุในฉลากว่า สารมีพิษ สารไวไฟ สารกัดกร่อน อันตราย คำเตือน ข้อควรระวัง ห้ามรับประทาน และห้ามเผา การแยกขยะประเภทนี้ออกมาจะช่วยให้ขยะเหล่านี้ถูกนำไปรีไซเคิลได้ และยังช่วยให้ขยะถูกกำจัดอย่างถูกวิธีด้วย

ดังนั้นแต่ละบ้านก็ควรจะมีถังขยะสำหรับคัดแยกขยะอย่างน้อย 4 ใบ เพื่อแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท นั่นเองครับ น้องฟาฟาหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนจัดสรรและคัดแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประยชน์ได้มากขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ ครั้งหน้า น้องฟาฟาจะนำเกร็ดความรู้เรื่องอะไรมาก อย่าลืมติดตามกันนะครับ